จุลินทรีย์ท้องถิ่น
จุลินทรีย์ท้องถิ่นมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ปรับตัวให้คงทนต่อสภาพที่ไม่เหมาะสมมานานแล้ว

จุลินทรีย์ดั่งเดิมในท้องถิ่นมีความสำคัญมาก ถ้าจะนับเวลาที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมก็จะยาวนานนับ 1,000 ปี จุลินทรีย์เหล่านี้มีพัฒนาการเพื่อการอยู่รอดและปรับตัวให้คงทนต่อสภาพที่ไม่เหมาะสมมานานแล้ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านั้นจะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง และมีกิจกรรมมาก
จุลินทรีย์ท้องถิ่น สามารถเก็บได้จากหลายแหล่ง เช่น จากภูเขา เนินเขา ป่าสน ป่าผลัดใบ ในป่าที่ชุ่มชื้นจากป่าไผ่ ใบไผ่ทุกชนิด เศษใบไม้ที่เน่าสลาย จะพบว่าด้านล่างของเศษพืชที่กำลังย่อยสลาย เหล่านั้นจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยราขาว (จุลินทรีย์ท้องถิ่น) แต่ที่พบมากและมีตามหมู่บ้าน ชุมชน ได้แก่ ใต้ต้นไผ่ เศษใบไม้ไผ่ที่กำลังย่อยสลาย
ขั้นตอนการเก็บจุลินทรีย์ท้องถิ่น
1. หุงข้าวเจ้าจำนวน 1 ลิตร ให้สุกเหมือนใช้รับประทาน
2. เทข้าวลงในกะบะสี่เหลี่ยมให้หมดห้ามข้าวสัมผัสกับมือเด็ดขาดจะทำให้ข้าวเน่าเสีย
ใช้ทัพพีเกลี่ยข้าวให้ทั่วกะบะ
3. ปิดกะบะด้วยกระดาษบรุ๊ฟสองชั้น และใช้เชือกฟางมัดให้แน่น
4. นำไปวางใต้ต้นไผ่ที่เห็นว่ามีเชื้อราขาวก่อนวางใช้ไม้ไผ่เล็กๆ รองพื้นแล้วนำกะบะวางลงไป
ใช้ใบไผ่คลุมทับกะบะเพื่อควบคุมความชื้น
5. คลุมพลาสติกบนตาข่ายหรือสุ่มไก่ เพื่อป้องกันน้ำและสัตว์เข้าทำลายทิ้งไว้นาน 3-4 วัน ถ้าเป็นฤดูหนาวจะใช้เวลานานประมาณ 5-6 วัน
6. เมื่อครบกำหนดเปิดดูและพบราขาวขึ้นมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำไปใช้ได้
จุลินทรีย์ท้องถิ่น สามารถเก็บได้จากหลายแหล่ง เช่น จากภูเขา เนินเขา ป่าสน ป่าผลัดใบ ในป่าที่ชุ่มชื้นจากป่าไผ่ ใบไผ่ทุกชนิด เศษใบไม้ที่เน่าสลาย จะพบว่าด้านล่างของเศษพืชที่กำลังย่อยสลาย เหล่านั้นจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยราขาว (จุลินทรีย์ท้องถิ่น) แต่ที่พบมากและมีตามหมู่บ้าน ชุมชน ได้แก่ ใต้ต้นไผ่ เศษใบไม้ไผ่ที่กำลังย่อยสลาย
ขั้นตอนการเก็บจุลินทรีย์ท้องถิ่น
1. หุงข้าวเจ้าจำนวน 1 ลิตร ให้สุกเหมือนใช้รับประทาน
2. เทข้าวลงในกะบะสี่เหลี่ยมให้หมดห้ามข้าวสัมผัสกับมือเด็ดขาดจะทำให้ข้าวเน่าเสีย
ใช้ทัพพีเกลี่ยข้าวให้ทั่วกะบะ
3. ปิดกะบะด้วยกระดาษบรุ๊ฟสองชั้น และใช้เชือกฟางมัดให้แน่น
4. นำไปวางใต้ต้นไผ่ที่เห็นว่ามีเชื้อราขาวก่อนวางใช้ไม้ไผ่เล็กๆ รองพื้นแล้วนำกะบะวางลงไป
ใช้ใบไผ่คลุมทับกะบะเพื่อควบคุมความชื้น
5. คลุมพลาสติกบนตาข่ายหรือสุ่มไก่ เพื่อป้องกันน้ำและสัตว์เข้าทำลายทิ้งไว้นาน 3-4 วัน ถ้าเป็นฤดูหนาวจะใช้เวลานานประมาณ 5-6 วัน
6. เมื่อครบกำหนดเปิดดูและพบราขาวขึ้นมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำไปใช้ได้
การเก็บรักษา
1. ใช้มือขยำเชื้อราขาวกับข้าวให้เละเหมือนโคลนทำในกะบะและสามารถใช้มือสัมผัสได้
ใส่น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ลงในกะบะและใช้มือขยำคลุกเคล้าผสมกันให้ทั่ว
นำไปใส่ในขวดโหลหมักทิ้งไว้ 4-5 วัน เก็บไว้ในที่ร่ม แล้วนำไปใช้ สามารถเก็บไว้ได้นาน 12 เดือน
ที่มา : Youtube เกษตรพึ่งตน
เกษตรพึ่งตน EP#32 : จุลินทรีย์ท้องถิ่น
เกษตรพึ่งตน EP#32 : จุลินทรีย์ท้องถิ่น
สวนหม่อนไม้
สวนเกษตรนวัตกรรมพึ่งตน ทำเกษตรยั่งยืนบนฐานเกษตรอินทรีย์ บนวิถีพึ่งตน
ที่อยู่ : 179 หมู่ 5 บ้านนานอน ตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
โทร : 0816755283